คณะเทคโนโลยีการเกษตรจับมือเครือข่ายภาคการเกษตร ต่อยอดการพัฒนาเกลือดำ สู่การสร้างมูลค่าเพิ่มเชิงพาณิชย์


 

คณะเทคโนโลยีการเกษตรจับมือเครือข่ายภาคการเกษตร ต่อยอดการพัฒนาเกลือดำ สู่การสร้างมูลค่าเพิ่มเชิงพาณิชย์

                       วันที่ 24 กันยายน 2567 ณ ห้องประชุมชั้น 2 คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พัชรินทร์ สุริยวงค์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เป็นประธานในพิธีลงนามความร่วมมือ โครงการวิจัยการจัดการความรู้การวิจัยและถ่ายทอดเพื่อยกระดับศักยภาพการผลิตเกลือทะเลคุณภาพสูงและการใช้ประโยชน์ผลพลอยได้จากกระบวนการผลิต และข้อตกลงว่าด้วยการทำวิจัยการจัดการความรู้ ระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี กับกลุ่มเกษตรกรทั้ง 4 กลุ่ม คือกลุ่มแปรรูปเกลือทะเลบ้านแหลม กลุ่มรักสุขภาพรวมใจ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาชีพเกลือทะเลกังหันทอง วิสาหกิจชุมชนประมงพัฒนาสาหร่ายทะเลเพชรบุรี หน่วยงานภาครัฐ 4 หน่วยงาน สำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบุรี สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดเพชรบุรี สำนักงานเกษตรอำเภอบ้านแหลม สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเพชรบุรี และภาคเอกชนเครือข่ายธุรกิจบิสคลับจังหวัดเพชรบุรี

                       ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วนิดา มากศิริ คณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร ได้เผยถึงการลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ว่า “มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีมีบทบาทในการจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้ประโยชน์ เพิ่มมูลค่า ด้วยวิธีการที่เกษตรกรสามารถทำได้โดยใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่มีอยู่ในชุมชน เพื่อแข่งขันกับตลาดผลิตภัณฑ์เกลือทะเล โดยมีเป้าหมายในการจัดการความรู้เรื่องการเพิ่มมูลค่าเกลือทะเลเกรดเกลือดําเป็นเกลือคุณภาพสูงและผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มสู่เชิงพาณิชย์ ถ่ายทอดกระบวนการผลิตเกลือทะเลคุณภาพสูงและผลิตภัณฑ์ นําไปสู่เชิงพาณิชย์ให้กับวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดเพชรบุรี”

                        อาจารย์ ดร.จุฑามาศ ทะแกล้วพันธุ์ อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีการเกษตร หัวหน้าโครงการ กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า “โครงการวิจัยเรื่องการจัดการความรู้การวิจัยและถ่ายทอดเพื่อยกระดับศักยภาพการผลิตเกลือทะเลคุณภาพสูงและการใช้ประโยชน์ผลพลอยได้จากกระบวนการผลิต ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสภาการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในการพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรม ได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ชุมชนเป้าหมายพัฒนาขึ้นจากองค์ความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอด เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่พัฒนา เปลี่ยนแปลง ปรับปรุงมาจากผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบหลักเดิมที่มีในชุมชนและท้องถิ่นหรือเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีขายอยู่แล้วในตลาด