มรภ.เพชรบุรี นำเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับผู้ตรวจแปลงเกษตรอินทรีย์
มรภ.เพชรบุรี นำเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับผู้ตรวจแปลงเกษตรอินทรีย์
กลุ่มเกษตรกรเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดเพชรบุรี เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับผู้ตรวจแปลงเกษตรอินทรีย์ ภายใต้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (SDGsPGS) จังหวัดเพชรบุรี ที่คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ได้จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 17 – 19 กุมภาพันธ์ 2563 ณ ห้องประชุมเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี โดยได้รับเกียรติจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสนาะ กลิ่นงาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี ในฐานะประธานคณะทำงานรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS จังหวัดเพชรบุรี เป็นประธานในการอบรม
จังหวัดหวัดเพชรบุรีมีแผนพัฒนาจังหวัด พ.ศ. 2561-2565 ในการเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารและเติบโตจากฐานการเกษตรแบบครบวงจร โดยส่งเสริมอาหารปลอดภัยและมีคุณภาพมาตรฐาน ส่งเสริมการใช้นวัตกรรมมาช่วยในการผลิต สามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรและชุมชน เสริมสร้างความมั่นคง ทางการเกษตร เพิ่มขีดความสามารถทางการตลาดในการแข่งขันและการส่งออก จากข้อมูลจังหวัดเพชรบุรีพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ทำการเกษตรเป็นอาชีพหลัก ส่วนใหญ่ใช้สารเคมีในการกำจัดแมลงและศัตรูพืช มีเพียงไม่ถึง 10 % ที่ทำการเกษตรแบบอินทรีย์
ขณะที่ปัญหาในการขับเคลื่อนเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ของจังหวัดเพชรบุรี ได้แก่ ยังไม่มีข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับจำนวนเกษตรกรอินทรีย์ พื้นที่ ปริมาณ ชนิด ช่วงเวลาเก็บเกี่ยว ผลผลิตเกษตรอินทรีย์ ทำให้การวางแผนการตลาดทำได้อยาก ขาดความรู้ความเข้าใจในขั้นตอนและการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การตรวจสอบ รับรองผลผลิตเกษตรอินทรีย์ ต้องได้รับการตรวจจากอุปกรณ์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง ทำให้ผลผลิตบางส่วนถูกยกเลิกจากผู้รับซื้อ การผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการผลิตสินค้าเกษตรทั่วไป ทำให้เสียเปรียบการแข่งขันด้านราคา
สำหนับแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ได้มีการจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนเกษตรกรอินทรีย์ พื้นที่ ปริมาณ ชนิด ช่วงเวลาเก็บเกี่ยว ผลผลิตเกษตรอินทรีย์อย่างเป็นระบบ เพื่อใช้ในการวางแผนการผลิตและการตลาด การให้ความรู้ ความเข้าใจในการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการผลิตเกษตรอินทรีย์ ตลอดจนขั้นตอนการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ถูกต้อง มีระบบการแจ้งเตือนการปนเปื้อนจากสารเคมีและสารอันตรายเป็นระยะ เพื่อที่เกษตรกรจะได้ปรับปรุงผลผลิตก่อนออกสู่ตลาด มีการส่งเสริมการตลาดที่ดี เชื่อมโยงการผลิต การรับรองมาตรฐานและการตลาดเข้าด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสนาะ กลิ่นงาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี ในฐานะประธานคณะทำงานรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS จังหวัดเพชรบุรี กล่าวว่า เกษตรอินทรีย์และอาหารปลอดภัย เป็นนโยบายสำคัญในการพัฒนาจังหวัดเพชรบุรีที่ต้องดำเนินการอย่างต่อนเื่อง และยินดีที่มหาวิทยาลัยราชภัเฏเพชรบุรีจะเป็นกลไกที่เป็นกลางในการร่วมรับรองและพัฒนามาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (SDGsPGS)
slot deposit pulsa 10 ribu