คณะเทคโนโลยีการเกษตร ลงพื้นที่จัดกิจกรรมบริการวิชาการ จัดกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าว อำเภอบ้านแหลม
คณะเทคโนโลยีการเกษตร ลงพื้นที่เพื่อให้บริการวิชาการกับกลุ่ม เกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวน้ำหอม
วันที่ 20 สิงหาคม 2567 ว่าที่ ร.ต. ดร.บุญชาติ คติวัฒน์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ พร้อมด้วยอาจารย์ทรงศักดิ์ ธรรมจำรัส รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา ได้นำนักศึกษาและบุคลากร คณะเทคโนโลยีการเกษตร ลงพื้นที่จัดกิจกรรมบริการวิชาการจัดกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ "การให้น้ำและใช้ชันโรงเพื่อเพิ่มผลผลิตมะพร้าวน้ำหอม" ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าว อำเภอบ้านแหลม ณ ฐานเรียนรู้เกษตรผสมผสาน ตำบลบางขุนไทร อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ความรู้แก่เกษตรกรในการเพิ่มการติดผลของมะพร้าวน้ำหอมโดยการให้น้ำและชันโรง และเพื่อสร้างแปลงสาธิตเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้การให้น้ำในสวนมะพร้าวน้ำหอมและใช้ชันโรง
จากปัญหาในปัจจุบันของสวนมะพร้าวน้ำหอมที่ผลิตขาดช่วงในรอบปีหรือขาดคอ เป็นปัญหารุนแรง พบได้ทุกพื้นที่ ๆ ที่มีการปลูกมะพร้าวน้ำหอม ในพื้นที่อำเภแบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรีเป็นอีกพื้นที่พบปัญหาขาดคอ สร้างความเสียหายต่อปริมาณและคุณภาพของผลผลิตมะพร้าวน้ำหอม ส่งผลให้เกษตรกร/ผู้ประกอบการ ขาดรายได้จาก ขายผลผลิต จากปัญหาดังกล่าวพบว่าสาเหตุหลักของอาการขาดคอ คือ 1. ไม่มีจั่น เนื่องจากการพัฒนาของจั่นที่ไม่ สมบูรณ์ทําให้ไม่เกิดดอก ซึ่งปกติการพัฒนาของจั่นจะใช้ระยะเวลาในการพัฒนาไปจนถึงระยะดอกบานประมาณ 18 เดือน หากมีการขาดน้ํา ธาตุอาหารในช่วงนี้จะส่งผลโดยตรงต่อการพัฒนาของจั่น ส่งผลทําให้มะพร้าวขาดคอ ในช่วงนั้น และ 2. การไม่ติดผล อันเนื่องมาจากการผสมเกสรที่ไม่สมบูรณ์
จากสภาพปัญหาดังกล่าว คณะเทคโนโลยีการเกษตรจึงได้ลงพื้นที่จัดกิจกรรมบริการวิชาการเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องระบบน้ำเพื่อช่วยแก้ปัญหาความชื้นสัมพัทธ์ภายในสวนเพื่อช่วยในการติดผล การจัดการน้ํา ธาตุอาหาร ต่อการพัฒนาของจั่น และการใช้ชันโรงหรือผึ้งจิ๋ว มาใช้ในการผสม เกสรเพื่อช่วยในการติดผล