หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อาชีพในอนาคต เมื่อสำเร็จการศึกษาจากคณะเทคโนโลยีการเกษตร
สาขาวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
1. นักวิชาการประมง กรมประมง เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร
2. นักวิชาการประจำฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในบริษัทเอกชน เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการขายพันธุ์สัตว์น้ำ อุปกรณ์ ยาและสารเคมีที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
3. เจ้าหน้าประจำห้องปฏิบัติการวิเคราะห์น้ำหรือห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์
4 ผู้ประกอบธุรกิจฟาร์มสัตว์น้ำและกิจการอื่นๆที่เกี่ยวข้องในสายการผลิตสัตว์น้ำ
5 เจ้าหน้าที่ประจำพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ เจ้าหน้าที่วิจัยและพัฒนาด้านอาหารสัตว์น้ำ ระบบการเลี้ยงสัตว์น้ำ หรือปรับปรุงพันธุ์สัตว์น้
=================================================================================================
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2558
=================================================================================================
ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา คณะเทคโนโลยีการเกษตร
หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
1. รหัสและชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science Program in Aquaculture
2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ไทย) : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ)
ชื่อย่อ (ไทย) : วท.บ. (การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ)
ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Bachelor of Science (Aquaculture)
ชื่อย่อ (อังกฤษ) : B.Sc. (Aquaculture)
3. วิชาเอกหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะของหลักสูตร
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
4. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 137 หน่วยกิต
5. รูปแบบของหลักสูตร
5.1 รูปแบบ เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี
5.2 ภาษาที่ใช้ ภาษาไทย
5.3 การรับเข้าศึกษา รับเฉพาะนักศึกษาไทยที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าโดยเกณฑ์การคัดเลือกให้เป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
5.4 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
5.5 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา เมื่อสำเร็จการศึกษาจะได้รับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
6. สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร
หลักสูตร ปรับปรุง พ.ศ. 2558 เริ่มเปิดสอนภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2558
หลักสูตรได้พิจารณากลั่นกรองโดยคณะกรรมการบริหารวิชาการ ครั้งที่ 7/2558 วันที่ 18 เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2558
คณะกรรมการสภาวิชาการอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตรในการประชุม ครั้งที่ 7/2558 วันที่ 2 เดือน กรกฏาคม พ.ศ. 2558
สภามหาวิทยาลัยอนุมัติ / เห็นชอบหลักสูตรในการประชุม ครั้งที่ 7/2558 วันที่ 20 เดือน กรกฏาคม พ.ศ. 2558
7. การขอรับการประเมินเพื่อขอรับรองมาตรฐานหลักสูตร
จะขอรับประเมินเพื่อรับรองหลักสูตรในปีการศึกษา
8. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
1) นักวิชาการประจำฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
2) เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร
3) นักวิชาการประมง กรมประมง
4) เจ้าหน้าประจำห้องปฏิบัติการวิเคราะห์น้ำหรือห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์
5) ผู้ประกอบธุรกิจฟาร์มสัตว์น้ำและกิจการอื่นๆที่เกี่ยวข้องในสายการผลิตสัตว์น้ำ
6) เจ้าหน้าที่ประจำพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
7) เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการขายพันธุ์สัตว์น้ำ อุปกรณ์ ยาและสารเคมีที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
8) เจ้าหน้าที่วิจัยและพัฒนาด้านอาหารสัตว์น้ำ ระบบการเลี้ยงสัตว์น้ำ หรือปรับปรุงพันธุ์สัตว์น้ำ
9) ครู อาจารย์หรือวิทยากรผู้ให้ความรู้ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
10) เจ้าหน้าที่ฝ่ายสินเชื่อ ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายการตลาด หรือฝ่ายผลิตในสถานประกอบการเพาะเลี้ยง สัตว์น้ำหรือแปรรูปสัตว์น้ำ (รวมถึงธุรกิจอื่นๆในสายการผลิตสัตว์น้ำจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ)
9. ชื่อ ตำแหน่ง และคุณวุฒิของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ลำดับที่ |
ชื่อ-สกุล |
ตำแหน่งทางวิชาการ |
คุณวุฒิการศึกษา |
สถาบันที่สำเร็จการศึกษา |
ปีที่สำเร็จ |
1 |
ผศ.ดร.บัญญัติ ศิริธนาวงศ์ |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ |
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การจัดการเทคโนโลยี) |
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร |
2552 |
2 |
ดร.อัจฉรีย์ ภุมวรรณ |
อาจารย์ |
การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (วิทยาศาสตรการศึกษา) |
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ |
2550 |
3 |
อาจารย์จุฑามาศ ทะแกล้วพันธุ์ |
อาจารย์ |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ) |
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
2545 |
4 |
อาจารย์ชลิดา ช้างแก้ว |
อาจารย์ |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อการพัฒนาทรัพยากร) |
มหาวิทยาลัยมหิดล |
2544 |
5 |
อาจารย์ทิพย์สุดา ชงัดเวช |
อาจารย์ |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์การประมง) |
สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง |
2552 |
10.สถานที่จัดการเรียนการสอน
คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
=================================================================================================
อาชีพในอนาคต เมื่อสำเร็จการศึกษาจากคณะเทคโนโลยีการเกษตร
สาขาวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
1. นักวิชาการประมง กรมประมง เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร
2. นักวิชาการประจำฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในบริษัทเอกชน เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการขายพันธุ์สัตว์น้ำ อุปกรณ์ ยาและสารเคมีที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
3. เจ้าหน้าประจำห้องปฏิบัติการวิเคราะห์น้ำหรือห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์
4 ผู้ประกอบธุรกิจฟาร์มสัตว์น้ำและกิจการอื่นๆที่เกี่ยวข้องในสายการผลิตสัตว์น้ำ
5 เจ้าหน้าที่ประจำพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ เจ้าหน้าที่วิจัยและพัฒนาด้านอาหารสัตว์น้ำ ระบบการเลี้ยงสัตว์น้ำ หรือปรับปรุงพันธุ์สัตว์น้
ไฟล์เอกสารแนบ : คลิกดาวน์โหลดเอกสาร