การฝึกอบรม เรื่อง มาตรฐานและระบบการผลิตเกลือทะเล วันอังคารที่ 14 มกราคม 2563
สถาบันเกลือทะเลไทย
ดร.มนัญญา ปริยวิชญภักดี รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี กล่าวต้อนรับผู้เข้ารับการฝึกอบรม เรื่อง มาตรฐานและระบบการผลิตเกลือทะเล วันอังคารที่ 14 มกราคม 2563 เวลา 8.30-16.30 น.ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี โดยมี ดร.จูอะดี พงศ์มณีรัตน์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ(มกอช.)เป็นประธานเปิดการอบรม ซึ่งการฝึกอบรมในครั้งนี้ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติได้ดำเนินการร่วมกับสถาบันเกลือทะเลไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับเกษตรกรและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องใน 7 จังหวัดที่มีการผลิตเกลือทะเล อาทิ จังหวัดเพชรบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ฉะเชิงเทรา ชลบุรี จันทบุรี และปัตตานี จำนวน 240 คน จุดประสงค์เพื่อยกระดับสินค้าเกลือทะเล เข้าสู่มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่องเกลือทะเลธรรมชาติ (มกษ.8402-2562) และ มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี สำหรับการทำนาเกลือทะเล (มกษ.9055-2562) โดยมี ดร.จุฑามาศ ทะแกล้วพันธุ์ ดร.วิวิศณ์ สุขแสงอร่าม และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โสภาพร กล่ำสกุล เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ แนวทางการยกระดับการผลิตเกลือทะเลไทยให้มีมาตรฐานและมีศักยภาพในการแข่งขัน และนำเสนองานสร้างสรรค์ต้นแบบการเพิ่มมูลค่าเกลือทะเลเป็นของที่ระลึกจากเกลือใส่กรอบรูป ชิ้นงาน “เกลือปั้น เพชรสมุทรคีรี” Klae Pun Phet Samut Kiri Art of Salt
อนึ่ง การยกระดับสินค้าเกลือทะเลเข้าสู่มาตรฐานเป็นมาตรการหนึ่งในการแก้ไขปัญหาเกลือทะเลทั้งระบบ ซึ่งรัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนอย่างเร่งด่วน ท่านเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาเกลือทะเลไทย โดยมีนายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษา รมว.เกษตรฯ ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาเกลือทะเลไทย และมีคณะกรรมการฯจาก 4 กระทรวง 2 องค์กรและผู้แทนเกษตรกรผู้ทำนาเกลือทะเลทั้ง 4 ภาค 5 สหกรณ์ฯมาร่วมเป็นคณะกรรมการฯ รวมทั้งได้มอบแนวทางขับเคลื่อนการทำงานใน 3 หลักใหญ่คือ พัฒนาชาวนาเกลือทะเล พัฒนาสินค้าเกลือทะเล และพัฒนาระบบสมดุลนิเวศน์เพื่อความยั่งยืน ตลอดจนได้รับพิจารณาข้อเสนอจากผู้แทนชาวนาเกลือในทุกประเด็น ทั้งการเสนอร่างพระราชบัญญัติเกลือทะเลไทย ปัญหาราคาเกลือตกต่ำ ปัญหาการนำเข้าเกลือทะเลจากต่างประเทศ การยกระดับมาตรฐานเกลือทะเล ที่สำคัญคือเรื่องสัดส่วนของไอโอดีน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกลือทะเลไม่สามารถเข้าสู่อุตสาหกรรมอาหารอย่างเต็มรูปแบบได้และปัญหาอื่น ๆ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีได้ดำเนินการภายใต้บทบาทการเป็นมหาวิทยาลัยคู่ความร่วมมือกับชุมชนและองค์กรการเกษตรกรระดับชาติในฐานะที่พื้นที่จังหวัดเพชรบุรีเป็นแหล่งผลิตเกลือทะเลที่ใหญ่ที่สุดของประเทศและมุ่งสนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนด้านความมั่นคงทางอาหารให้กับประเทศ
>> คลิกเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม <<
RTP Gacor