คณะเทคโนโลยีการเกษตร ร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งเพชรบุรีและสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดเพชรบุรี จัดอบรมการเลี้ยงสาหร่ายผักกาดทะเลเชิงพาณิชย์ ในกับเกษตรกรผู้เลี้ยงสาหร่ายทะเลและผู้ที่สนใจ


 

คณะเทคโนโลยีการเกษตร ร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งเพชรบุรีและสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดเพชรบุรี
จัดอบรมการเลี้ยงสาหร่ายผักกาดทะเลเชิงพาณิชย์ ในกับเกษตรกรผู้เลี้ยงสาหร่ายทะเลและผู้ที่สนใจ

 

                  วันที่ 11 พฤษภาคม 2566 เวลา 08.30  ผู้ช่วยศาสตราจารย์พจนารถ บัวเขียว รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เป็นประธานเปิด
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการเลี้ยงสาหร่ายผักกาดทะเลเชิงพาณิชย์ ที่ทางคณะเทคโนโลยีการเกษตรร่วมกับมือศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งเพชรบุรี
และสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดเพชรบุรี ณ ห้องประชุมชั้น 2 คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี โดยมีหัวหน้าส่วนราชการและกลุ่มเกษตรกร
ผู้เลี้ยงสาหร่ายทะเลบ้านพะเนินและบ้านแหลมผักเบี้ย ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เข้าร่วมโครงการ

                ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วนิดา มากศิริ คณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร กล่าวว่า “สืบเนื่องจากคณะเทคโนโลยีการเกษตรตระหนักและให้
ความสำคัญในการยกระดับคุณภาพการผลผลิตทางการเกษตรทั้งเชิงปริมาณคุณภาพและมูลค่า รวมถึงการขับเคลื่อนการเกษตรและอาหารปลอดภัย 
ซึ่งจากการทำเวทีประชาคมเพื่อวิเคราะห์สภาพชุมชนและจัดทำแผนพัฒนาชุมชนแบบมีส่วนร่วมพบว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่นประสบปัญหา
ราคาผลผลิตตกต่ำ ในช่วงที่มีผลผลิตออกมาพร้อมกัน และมีส่วนของสาหร่ายที่ตกเกรดไม่เหมาะกับการบริโภคต้องทิ้งไปเป็นจำนวนมาก ในขณะเดียว
กันช่วงฤดูฝน สาหร่ายไม่สามารถเจริญเติบโตได้ ทำให้เกษตรกรต้องขาดรายได้คณะเทคโนโลยีการเกษตรได้ประสานความร่วมมือกับศูนย์วิจัยและพัฒนา
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งเพชรบุรี และโครงการฟาร์มทะเลตัวอย่างแบบผสมผสานตามพระราชดำริ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถในการ
จัดทำโครงการบริการวิชาการ เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงสาหร่ายผักกาดทะเลเชิงพาณิชย์ เพื่อเพิ่มทางเลือกในการเลี้ยงสาหร่ายของ
เกษตรกร รวมถึงยังมีโครงการต่อเนื่องในการการนำเศษเหลือหรือผลผลิตที่ตกเกรดมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่า ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการของทีมวิจัย
และจะทำการถ่ายทอดองค์ความรู้แก่เกษตรกรในกลุ่มพื้นที่เป้าหมาย เพื่อเป็นการเสริมขีดความสามารถในการพึ่งพาตัวเอง”

          โดยในกิจกรรมนี้ประกอบไปด้วยกรรบรรยายการเพาะเลี้ยงสาหร่ายผักกาดทะเลเชิงพาณิชย์ โดยนายประพัฒน์ กอสวัสดิ์พัฒน์ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและ
พัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งเพชรบุรี เป็นวิทยากร มีการสาธิตการประกอบอาหารจากสาหร่ายผักกาดทะเล จำนวน 3 เมนูได้แก่

  • สาหร่ายเทมปุระ โดยนางสาว ศิริพร รักษาราษฎร์ นักวิชาการประมงปฏิบัติการ เป็นวิทยากร
  • ต้มจืดสาหร่ายผักกาดทะเล โดยนางสาวจิราภรณ์ ตันเจริญ นักวิชาการประมงปฏิบัติการ เป็นวิทยากร
  • ลุยสวนสาหร่ายผักกาดทะเลโดย นางประเชิญ แต่งสี พนักงานผู้ช่วยประมง เป็นวิทยากร

          ในส่วนของภาคบ่ายพาลงพื้นที่ศึกษาดูงานระบบการเลี้ยงสาหร่ายผักกาดทะเล ในบ่อผ้าใบ ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งเพชรบุรี
ซึ่งเป็นระบบต้นแบบการเลี้ยงสาหร่ายในโรงเรือนแห่งแรก เพื่อให้เกษตรกรนำไปประยุกต์ใช้กับการเลี้ยงแบบถัง 500 ลิตรหรือถังขนาดเล็กได้ นอกจากนี้ยังมี
การแจกต้นพันธุ์สาหร่ายจำนวนกว่า 50 กก. ให้กับผู้เข้าฝึกอบรมด้วย