คลังเก็บป้ายกำกับ: เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ

ข้าวอินทรีย์(ไรซ์เบอรี่) คุณไพโรจน์ เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติปี 2555

โครงการ การจัดการทำเส้นทางท่องเที่ยวเชิงเกษตร “สืบสานโครงการตามพระราชดำริ”

Local Agro – Tourism Trail Planning “Project Inheriting Tour”

1. ชื่อแหล่งท่องเที่ยว

          ข้าวไรซ์เบอรี่อินทรีย์ นายไพโรจน์    พ่วงทอง เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติปี 2555

2. สถานที่ตั้ง

บ้านเลขที่  101 ตำบลบางเค็ม  อำเภอเขาย้อย  จังหวัดเพชรบุรี

3. ประเถท

          สินค้าบริโภค ประเภทข้าว

4. คณะผู้ติดต่อ/ผู้ประสานงาน

          นายไพโรจน์  พ่วงทอง โทรศัพท์  0891510763-0811909611 http://www.facebook.com/pairojn.farmers

5. ลักษณะกลุ่ม

          เป็นเกษตรกรที่ทำนาแบบอินทรีย์

6. วันเวลาที่ให้บริการ

ทุกวัน แต่ควรโทรศัพท์เพื่อติดต่อประสานงานก่อนล่วงหน้า

7. ประวัติการก่อตั้งและการดำเนินงาน

นายไพโรจน์  พ่วงทอง  เกิดในครอบครัวที่ประกอบอาชีพทำนา  ในวัยเด็กได้ช่วยเหลือพ่อและ

แม่ทำนามาโดยตลอด  หลังจากจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  แล้วยังคงช่วยเหลือพ่อแม่ทำนา

โดยการทำนาดำ ใช้พันธุ์ข้าวพื้นเมือง  ซึ่งได้ผลผลิตต่อไร่ต่ำ

ในปี 2538 หลังจากแยกครอบครัวแล้วก็ยังคงประกอบอาชีพการทำนา ในพื้นที่ 5 ไร่ โดยการปักดำ

ได้ผลผลิต  300 – 400 กิโลกรัม./ไร่  ต่อมาได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร  และเข้ารับ

การฝึกอบรมการทำนาหว่านน้ำตม พร้อมทั้งไปศึกษาดูงานการทำนาหว่านน้ำตมที่ประสบผลสำเร็จในหลายจังหวัด

หลังจากนั้นได้เปลี่ยนการทำนาดำเป็นนาหว่านน้ำตม โดยใช้พันธุ์ข้าว กข.11 ได้ผลผลิต 800 – 900 กิโลกรัม/ไร่  จึงได้ขยายพื้นที่ปลูกข้าวขึ้นอีก  ในปัจจุบันมีพื้นที่ทำนาหว่านน้ำตมทั้งหมด  40  ไร่

การทำนาหว่านน้ำตม  มีอุปสรรคในการเตรียมดินคือ ฟางข้าวที่มาติดผานไถ ทำให้เสียเวลาในการไถนา  จึงคิดหาวิธีการปรับเปลี่ยนวิธีการไถ  โดยติดเครื่องกระจายฟางข้าวกับรถไถนาซึ่งได้ผลดี  โดยมีเกษตรกร เช่น นายทวีศักดิ์  เปี่ยมศักดิ์  นำไปปรับใช้ในแปลงนา และมีเกษตรกรใกล้เคียงใช้อย่างแพร่หลาย

นายไพโรจน์  พ่วงทองการผลิตข้าวข้าวกล้องไรซ์เบอรี่แบบอินทรีย์

8. ลักษณะมาตรฐานสินค้าและผลิตภัณฑ์

เกษตรกรดีเด่นปี พ.ศ. 2555  โดยได้รับใบรับรองการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับการผลิตข้าวเปลือก (Certificate for Good Agricultural Practice of Rice Production) มาตรฐานการรับรองการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีตามระบบการจัดการคุณภาพ : GAP ข้าว

 

9. กระบวนการผลิต

การผลิตข้าวข้าวกล้องไรซ์เบอรี่แบบอินทรีย์ได้มีการนำเทคโนโลยีมาใช้เหมาะสมกับพื้นที่ และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

การหมักฟางข้าว และกำจัดวัชพืชในแปลงนา

1.การเตรียมดิน โดยหว่านเมล็ดพันธุ์ปุ๋ยพืชสด การหว่านให้หว่านรอบๆแปลงนาให้ทั่วหลังจากนั้น เมื่อรถเกี่ยวข้าวได้ ประมาณ 2 รอบ ให้เดินหว่านให้ทั่วอีกครั้ง หลังจากเก็บเกี่ยวแล้ว ให้กระจายฟางเพื่อให้ฟางคลุมทั่วพื้นที่ภายใน 3 วัน เมล็ดปุ๋ยพืชสด ก็จะงอกประมาณ 45 วัน จึงทำการไถกลบ หรือย่ำหมัก

2. การหมักฟางข้าว และกำจัดวัชพืชในแปลงนา
- ใช้ระยะเวลาการเตรียมดิน 3 ครั้ง แต่ละครั้ง
ห่างกันประมาณ 7 วัน มีขั้นตอน ดังนี้
-ใช้จุลินทรีย์ประมาณ 5 ลิตร/ไร่ ปล่อยลงแปลงนา ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมงแล้วย่ำ ให้ทั่ว 1 – 2 รอบ หมักไว้ 7 วัน เพื่อล่อให้หญ้าขึ้น
-ระบายน้ำเข้าพร้อมจุลินทรีย์ ให้ท่วมพื้นนาแล้วย่ำให้หญ้าจมดิน ระบายน้ำเข้า ให้ท่วมหญ้าหมักไว้ 7 วัน
-หว่านสมุนไพรกำจัดหอยเชอรี่
-ในการย่ำทำเทือก ให้ระบายน้ำออกจนแห้ง แล้วหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าว ทิ้งไว้ 7 วัน
-ระบายน้ำเข้าพร้อมจุลินทรีย์ ให้ระดับน้ำประมาณครึ่งของต้นข้าว
-รักษาระดับน้ำอย่าให้แห้ง เพื่อจุลินทรีย์จะได้ย่อยสลายวัชพืชให้เน่าเปื่อย

การหมักฮอร์โมนสูตรต่างๆ
3. การเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าว
-ใช้เมล็ดพันธุ์ 15-20 กิโลกรัม/ไร่
-บ่มเมล็ดพันธุ์ไว้ 3 วัน
-ใช้ฮอร์โมนสูตรรกหมู อัตราส่วน 10 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร รดเมล็ดพันธุ์ที่บ่มไว้

วิธีการทำฮอร์โมนสูตรรกหมู
รกหมู 1 รก(หนักประมาณ 3 กก.) 1 รก
จุลินทรีย์ 1 ลิตร
กากน้ำตาล 1 ลิตร
น้ำฝน 10 ลิตร
หมักทิ้งไว้ อย่างน้อย 21 วัน

4. การดูแลรักษาต้นข้าว ดังนี้
-ข้าวอายุ 10 วัน ระบายน้ำ+จุลินทรีย์ +ฮอร์โมนสูตรรกหมู อัตรา 5 ลิตร/ไร่ เข้าแปลงนา
-ข้าวอายุ 15 วัน ใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพ อัตรา 30 กิโลกรัม/ไร่ หลังจากนั้นให้ตรวจข้าวว่าขึ้นสม่ำเสมอหรือไม่ ถ้าข้าวเสีย หรือข้าวขึ้นไม่สม่ำเสมอ ให้ทำการซ่อมกล้า โดยใช้เครื่องมือซ่อมกล้าข้าว เพื่อลดการช้ำของต้นข้าว และให้ต้นข้าวที่ขึ้นสม่ำเสมอกันทั่วแปลงนา
-ข้าวอายุ 35 วัน ใส่จุลินทรีย์+ฮอร์โมนสูตรรกหมู อัตราส่วน 5 ลิตร/ไร่ มีการทำร่องเดิน เพื่อไม่ให้เหยียบต้นกล้าข้าว
-ฉีดพ่นขับไล่แมลง โดยใช้สมุนไพร (น้ำสะเดาหมัก,ผักเสี้ยนผี,น้ำส้มควันไม้) ถ้ามีแตนเบียน
สามารถปล่อยแตนเบียนได้ เพื่อรักษาระบบนิเวศในนาข้าว

การดูแลรักษาต้นข้าว

วิธีการทำสะเดาหมัก
1. สะเดา 5 กิโลกรัม
2. เหล้าขาว 4 ขวด
3. น้ำ 5 ลิตร
หมักไว้ 3 วัน คั้นเอาแต่น้ำ อัตราการใช้ในนาข้าว 50 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร

สะเดาหมัก

วิธีการทำผักเสี้ยนผี
1. ผักเสี้ยนผี 3 กิโลกรัม
2. ใบน้อยหน่า 3 กิโลกรัม
3. กระเทียม ใช้ทั้งหัว 2-3 กิโลกรัม
สับให้ละเอียด หมักทิ้งไว้ 2 วัน คั้นเอาแต่น้ำ อัตราการใช้ในนาข้าว 50 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร
-ข้าวอายุ 50 วัน ใส่ปุ๋ย 46-0-0 อัตราส่วน 5-8 กิโลกรัม/ไร่

การทำผักเสี้ยนผี

วิธีการทำฮอร์โมนสูตรนมสด
1. นมสด รสจืด 1 ลิตร
2. กระทิงแดง 1 ขวด
3. ผงชูรส 5 กรัม
-ข้าวอายุ 60,75 และ85 วัน ใช้สมุนไพรน้ำ 50 ซีซี + ฮอร์โมนสูตรรกหมู 40-50 ซีซี +ฮอร์โมน
สูตรนมสด 200 ซีซี + น้ำ 20 ลิตร ฉีดให้ทั่วแปลงนา

วิธีการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
1. ขี้วัว 2,500 กิโลกรัม
2. รำแป้ง 120 กิโลกรัม
3. แกลบดิบ 500 กิโลกรัม
4. ขี้เลื่อย (เหลือจากเพาะเห็ด) 300 กิโลกรัม
5. หัวเชื้อจุลินทรีย์ 5 ลิตร
6. ฮอร์โมนสูตรรกหมู 5 ลิตร
-เมื่อข้าวอายุ 107 วัน เก็บเกี่ยว
หมายเหตุ ปัจจุบันนี้ ได้มีการลดขั้นตอนในการฉีดสมุนไพรและฮอร์โมนลง โดยฉีดพ่นในช่วงข้าวอายุ 50และ 60 วันเท่านั้น เพราะต้นข้าวมีความแข็งแรง โดยสังเกตจากต้นข้าวกอใหญ่ มีความตั้งตรง
มีสีเขียวตามธรรมชาติ ถ้าข้าวยังไม่แข็งแรงสามารถฉีดสมุนไพรและฮอร์โมน ในช่วง 75 วันเพิ่มเติมได้

เก็บเกี่ยวข้าวเก็บเกี่ยวข้าวบรรจุพันธ์ข้าวไรซ์เบอรี่

10. องค์ความรู้ของผลิตภัณฑ์/กลุ่ม
ปัจจุบัน การทำนาของเกษตรกรต้องพึ่งพาสารเคมี เป็นเหตุให้ต้นทุนในการทำนาสูง สภาพดินเสื่อมโทรม ทำให้ต้นข้าวอ่อนแอไม่ต้านทานโรค และแมลง จึงมีแนวคิดในการจัดการผลผลิต ดังนี้
แนวคิดในการปรับปรุงบำรุงดินให้เกิดความยั่งยืน
-โดยเริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์ค้นหาปริมาณธาตุอาหารในดิน
-บำรุงดินด้วยการปลูกปุ๋ยพืชสด (ปอเทืองพืชตระกูลถั่ว)
-ผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ น้ำหมักพืชสมุนไพรร่วมกับปุ๋ยเคมี
-คิดค้น ดัดแปลง และประยุกต์ใช้สูตรสมุนไพรป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช ฮอร์โมนน้ำหมัก โดยฉีดพ่นให้เหมาะสมกับระยะเวลาการเติบโตของข้าว

เพาะกล้า

11. ประเด็น/เกี่ยวข้อง/สอดคล้องกับการสืบสานหรือแนวคิดเศรษกิจพอเพียง
ข้าวผลิตข้าวไรซ์เบอรี่แบบอินทรีย์ ได้น้อมนำแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ในการทำนาตั้งแต่การทำการเกษตรแบบประณีต ที่ต้องศึกษาดูแลข้าวแบบอินทรีย์ตั้งแต่การเพาะเมล็ด การดูแลทั้งการบำรุงรักษา การกำจัดศัตรูพืชที่ต้องมีการศึกษาทดสองจนประสบผลสำเร็จ
12. สถานการณ์ด้านการท่องเที่ยว
เป็นแปลงเรียนรู้ในการศึกษาดูงานการผลิตข้าวอินทรีย์
จำนวนผู้เข้าศึกษาดูงาน 120 ราย/ปี
แปลงตัวอย่างในการถ่ายทอดความรู้แก่ เกษตรกรในเรื่องเกษตรดีที่เหมาะสม
จำนวนผู้เข้าศึกษาดูงาน 150 ราย/ปี
เป็นแปลงตัวอย่างและเรียนรู้ ในการปรับปรุงบำรุงดิน โดยใช้ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยน้ำชีวภาพ
จำนวนผู้เข้าศึกษาดูงาน 300 ราย/ปี

ประชุมกลุ่ม

rice_berry_poem

Share and Enjoy

  • Facebook
  • Twitter
  • Delicious
  • LinkedIn
  • StumbleUpon
  • Add to favorites
  • Email
  • RSS

ศูนย์การเรียนรู้ไร่สุภาวดี เกษตรกรดีเด่นปี 2548

โครงการ การจัดการทำเส้นทางท่องเที่ยวเชิงเกษตร “สืบสานโครงการตามพระราชดำริ”

Local Agro – Tourism Trail Planning “Project Inheriting Tour”

ชื่อแหล่งท่องเที่ยว  :     ศูนย์การเรียนรู้ไร่สุภาวดี เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติประจำปี 2548

สถานที่ตั้ง :   บ้านเลขที่  55  หมู่  2  ตำบลบางเค็ม  อำเภอเขาย้อย  จังหวัดเพชรบุรี

ประเภท : ไร่นาสวนผสม

คณะผู้ติดต่อ/ผู้ปรสานงาน  :   นางสุภาวดี  ปิยนุสรณ์

ลักษณะกลุ่ม  :  ศูนย์เรียนรู้เจ้าของคนเดียว

วันเวลาที่ให้บริการ  :      เปิดทุกวัน  แต่ควรโทรประสานงานก่อน

ประวัติการก่อตั้งและการดำเนินงาน  :  หลังจากจบการศึกษาแล้วคุณสุภาวดีไม่ได้ศึกษาต่อ เพราะทางครอบครัวค่อนข้างยากจน ประกอบกับลุงไม่มีบุตร จึงได้ขอกับพ่อแม่มาเลี้ยงดู  และได้ช่วยเหลือคุณลุงทำงานด้านเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำงา  ซึ่งเป็นอาชีพหลัก  แต่มักได้ผลผลิตน้อย เพราะน้ำท่วมขัง เนื่องจากสภาพพื้นที่ทำนาเป็นที่ลุ่มจึงประสบปัญหาในการทำการเกษตรทุกปี  ต่อมาปี พ.ศ. 2537  ทางราชการได้จัดทำโครงการปรับโครงสร้างระบบการผลิตทางการเกษตร (คปร.) และคุณลุงได้มอบที่ดินให้ 1 แปลงเป็นพื้นที่  10  ไร่  จึงได้เข้าร่วมโครงการและได้รับการสนับสนุนปัจจัยการผลิตและสินเชื่อ มีการปรับสภาพพื้นที่โดยเน้นร่องสวน ปลูกไม้ผล  พืชผัก เลี้ยงสัตย์ปีก  และการเลี้ยงปลาในร่องสวน ซึ่งในการเข้าร่วมโครงการมีแรงจูงใจดังนี้

ไม้ผลในสวน

1. เพื่อดำเนินการตามแนวพระราชดำริของพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว การทำเกษตรทฤษฏีใหม่ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

2. เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรได้แนะนำให้เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างและระบบการผลิต (คปร.) ปี 2537 โดยสนับสนุนทั้งปัจจัยการผลิตและสินเชื่อในการลงทุน

3. เพื่อลดอัตราการเสี่ยงต่อความแปรปรวนของราคาผลผลิต (ราคาข้าว)

4. สภาพพื้นที่เหมาะสมต่อการจัดทำแปลงไร่นาสวนผสม

5. การทำกิจกรรมทางการเกษตรที่มีหลากหลาย ทั้งการปลูกไม้ผล  พืชผัก เลี้ยงปลา และเลี้ยงสัตว์ ควบคู่กันไปทำให้ช่วยครอบครัวและฐานะความเป็นอยู่ของครอบครัวให้ดีขึ้น และมีความยั่งยืนในการประกอบอาชีพเกษตร

6. ทำให้มีรายได้หมุนเวียนทั้งรายได้รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือนและรายได้รายปี

ร่องสวนมะพร้าว

ลักษณะมาตรฐานสินค้าและผลิตภัณฑ์ :    เกษตรกรดีเด่นปี พ.ศ. 2548

การบวนการผลิต :  กิจกรรมการเกษตรในไร่สุภาวดี สามารถเดินศึกษาได้ด้วยตนเอง ตามกิจกรรมต่างๆ ดังนี้

1.นาข้าว โดยวิธีหว่านตม และปลูกปอเทืองหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อเป็นปุ๋ยพืชสด ในการปรับปรุงดินใว้สำหรับจำหน่ายและบริโภคในครัวเรือน

2. ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้นตามร่องสวน และพื้นที่ว่าง

3. เลี้ยงสัตว์ปีก เพาะพันธ์ไก่พื้นเมืองและไก่ชน

4.เลี้ยงสัตว์น้ำ ในร่องสวน ปลานิล ปลาตะเพียน และปลาดุก

ประตูทางเข้าไร่

3-30-2014 9-38-34 PM

ทางเดินเข้าไปชมภายในไร่ มีการปลูกมะขาม เพื่อการเก็บยอดขาย และชั้นในมีการปลูกชะอมเป็นแนว มีการตัดอย่างเป็นระเบียบ สวยงาม

3-30-2014 9-39-07 PM

ทางเข้าไปสู่ศูนย์การเรียนรู้ ใช้ในการจัดอบรมหรือที่รับรองนักท่องเที่ยวที่เข้ามาศึกษาดูงาน

3-30-2014 9-39-34 PM

ภายในอาคารศูนย์การเรียนรู้มีเอกสารในการให้ผู้เข้ามาศึกษาได้อ่านและมี ข้อมูลเบื้องต้นให้ได้ศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง

3-30-2014 9-39-58 PM

 

บรรยากาศโดยรอบ

3-30-2014 9-40-25 PM

องค์ความรู้ของผลิตภัณฑ์/กลุ่ม :  องค์ความรู้ในการปลูกพืชแบบผสมผสาน ที่ให้ผลผลิตตลอดทั้งปี โดยมีการวางแผนการเก็บเกี่ยวแบบหมุนเวียนที่สามารถทำรายได้ทุกวัน การใช้พื้นที่ในการปลูกพืชที่เหมาะสมและคุ้มค่า รวมถึงความสวยงามในการทำการเกษตรแบบผสมผสานกับการเลี้ยวปลา

ประเด็น/เกี่ยวข้อง/สอดคล้องกับการสืนสานหรือแนวคิดเศรษกิจพอเพียง :    ศูนย์การเรียนรู้ไร่สุภาวดีได้น้อมนำเกษตรทฤษฎีใหม่ในการจัดสรรพื้นที่ในการทำการเกษตรให้เหมาะสม มาใช้ในการทำไร่นาสวนผสม  และยังได้นำแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในการดูแลรักษา บำรุงพืชในการใช้เกษตรแบบอินทรีย์

สถานการณ์ด้านการท่องเที่ยว :   สามารถเข้าเที่ยวชมได้ด้วยตนเอง โดยพื้นที่ของไร่มีการจัดสรรพื้นที่ได้เหมาะสมสวยงาม และร่มรื่น

3-30-2014 9-40-42 PM

Share and Enjoy

  • Facebook
  • Twitter
  • Delicious
  • LinkedIn
  • StumbleUpon
  • Add to favorites
  • Email
  • RSS