เสวนา โครงการการจัดทำเส้นทางท่องเที่ยวเชิงเกษตรสืบสานโครงการพระราชดำริ

วันอังคารที่ 25 ก.พ. 2557

ณ ห้องประชุมเล็ก คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

9.30 น.  - อ.จุฑามาศ กล่าวเปิดต้อนรับผู้เข้าร่วมเสวนาและประวัติความเป็นมาและความสำคัญของโครงการ เส้นทางที่สืบสานโครงการพระราชดำริ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับโครงการพระราชดำริโดยตรงแต่ขอให้มีคอนเซ็ปต์เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงก็ได้ เช่น กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ ของกลุ่มน้ำตาล ที่บางจาน ซึ่งถ้าต้องการให้มีการต่อเนื่องและยั่งยืนจึงควรมีการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ซึ่งในแต่ละแหล่งผลิตจึงควรได้มีโอกาสความรู้จักกันในแต่ละแหล่งสถานที่ และได้แนะนำผู้เข้าร่วมโครงการทุกท่าน

ประชุมเจ้าของแหล่งท่องเที่ยว

9.40 – อ.อัตภาพ นำเสนอโครงการ


1. กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตน้ำตาลมะพร้าว ต.บางครก อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี ผลิตน้ำตาลจากมะพร้าวเป็นหลัก มีโรงงาน จำจัดหน่าย และแหล่งกิจกรรม

2. ฟาร์มทะเลตัวอย่างตามพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ต.บางแก้ว อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี

3. กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร (ขนุนและกล้วย) ในโครงการตามพระราชประสงค์ดอนขุนห้วย

4.กลุ่มผลิตสมุนไพรในโครงการตามพระราชประสงค์ดอนขุนห้วย ต.ดอนขุนห้วย

5. โครงการสวนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ต.สามพระยา อ.ชะอำ

6. ไร่สุภาวดี ไร่นาสวนผสม เกษตรกรแห่งชาติปี 2548 ต.บางเค็ม อ.เขาย้อย

7. กลุ่มผลิตข้าวอินทรีย์ คุณไพโรจน์ เกษตรกรแห่งชาติปี 2555 พ่วงทอง ต.บางเค็ม อ.เขาย้อย

8. กลุ่มหัตถกรรมไม้ตาล ต.หนองปรง อ.เขาย้อย

 

ตัวอย่างเส้นทางการท่องเที่ยว

เส้นที่ 1 ทิศตะวันออก ข้าวอินทรีย์ไรซ์เบอร์รี่ – ไร่สุภาวดี – น้ำตาลมะพร้าวบางครก – โครงการฟาร์มทะเลตัวอย่าง

เส้นที่ 2 ทิศตะวันตก กลุ่มไม้ตาล – แปรรูปดอนขุนห้วย – สวนสมเด็จ

9.50-อ.มธุรส เริ่มการบรรยาย การเป็นเจ้าบ้านเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยว จากข้อสังเกต

1. ควรมองแหล่งท่องเที่ยวโดยรอบ ๆ แหล่งด้วย เช่น ไร่สุภาวดี ส่วนกระจายรอบ ๆ (พฤติกรรมการท่องเที่ยว อาจศึกษาบ้านโบราณที่มีเรื่องราว) สามารถสร้างเส้นทางเชื่อมโยง

ถ้าเราต้องต้อนรับนักท่องเที่ยวเพื่อให้เกิดความประทับใจทำอย่างไรได้บ้าง  การเป็นเจ้าบ้านที่ดี คือ การที่จะให้ข้อมูลและความเป็นมิตร สะดวก สบาย ปลอดภัย จากการลงพื้นที่เราได้เห็นป้ายการต้อนรับ การจัดสถานที่ให้เกิดความปลอดภัย จึงมีหลักง่าย ๆ ก็คือ Service mind ก็คือความพร้อมในการให้บริการ

S-Smile ยิ้มแย้มแจ่มใส แสดงให้เห็นว่า เรายินดีที่จะต้อนรับ แต่ก็ไม่ต้องเกินไปจนเสียความเป็นตัวตน เราสามารถปฏิเสธนักท่องเที่ยวอย่างสวยงามถ้าไม่สะดวกหรือไม่ใช่ฤดูกาล

E-Enthusiasm กระตือรือร้น

R-Rapidness ความรวดเร็วมีคุณภาพ การตอบสนองเพื่อทำให้เกิดความพึงพอใจ ใช้คำพูดที่นุ่มนวลขึ้น ไม่ควรพูดว่าไม่รู้ ไม่ทราบ

V-Value มีคุณค่า ซึ่งมาจากการเล่าเรื่องราว

I-Impression ประทับใจ อาจจะมาจากการจัดสถานที่ ป้ายชื่อป้ายบอกเรื่องราว หรือให้ผู้เชี่ยวชาญช่วยจัดภูมิทัศน์โดยรอบก่อนเจอเจ้าของ

C-Courtesy สุภาพ ซึ่งต้องอาศัยความอดทน อาจจะมาจากสำเนียงท่องถิ่นซึ่งอาจเปลี่ยนไม่ได้แต่อาจพูดช้าลง

E-Endurance อดทน บางครั้งนักท่องเที่ยวอาจมีคำพูดที่ไม่ดีนัก เราก็ต้องอดทน เพราะถ้าพูดไม่ดีออกไปอาจเป็นการบอกต่อซึ่งไม่ดีต่อหน่วยงานเรา

MIND

M-Make believe มีความเชื่อ

I-Insist ยืนยัน/ ยอมรับ

N-Necessitate ให้ความสำคัญ (กับทุก ๆ คนเท่ากัน)

D-Devote อุทิศตน

เยี่ยมชมแหล่งท่องเที่ยว

 

เทคนิคการเป็นเจ้าบ้านเพื่อสร้างความสุข

- เป็นกันเอง

- ลดความเห็นแก่ตัว

- เอาใจใส่ทุกคน

- ยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ

- จำชื่อให้ได้ เรียกชื่อให้ถูก

- สดชื่น ร่าเริง มีอารมณ์ขัน

- รู้ให้จริง (อย่ายกเมฆ)

- หัดเป็นนักอ่าน และสังเกตจดจำ

- เป็นนักฟังที่ดี

- สร้างทัศนคติที่ดีต่อชุมชนหรือองค์กร

 

อย่า 12 ประการ : อย่าลืมยิ้ม อย่าหันหลังให้รอเก้อ อย่าบอกปัดหรือโต้เถียง อย่าพูดคำหยาบล้อเลียน อย่างมองนักท่องเที่ยวด้วยหางตา อย่าคิดว่าข้าแน่ อย่าเป็นแค่คนเฝ้าของ อย่ากลัวนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะฝรั่ง อย่าละเลยนักท่องเที่ยวที่ดีและน่ารัก(สมุดเยี่ยมให้นักท่องเที่ยวลงชื่ออาจมีการติดต่อกลับเพื่อนำเสนอโปรโมชั่นในช่วงนี้) อย่าทำงานด้วยความเศร้า อย่าเป็นคนไร้น้ำใจ

การบริการเพื่อประโยชน์สุขของนักท่องเที่ยว อาจจะต้องเปลี่ยนรูปแบบเป็น ชม ชิม ช็อป แชะ ฉี่ เราควรมีให้ครบเพื่อให้เกิดความประทับใจ

20130813_160518

 

เมื่อนักท่องเที่ยวเดินทาง : ศึกษาเรื่องราว อุปกรณ์สื่อสาร (ขอชาร์ตแบตฯ) กฎกติกาข้อห้ามข้อควรระวัง อาหารประจำถิ่น ของฝากหรือที่ระลึก (คนไทยเน้นของกิน คนฝรั่งเน้นของฝากชิ้นเล็ก)

Green Heart เที่ยวด้วยใจคิดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

-          Green Logistics เที่ยวใกล้-ไกล เลือกใช้พาหนะพลังงานสะอาด

-          Green Attraction จัดการแหล่งท่องเที่ยวโดยคำนึงถึงความยั่งยืน

-          Green Activity เลือกกิจกรรมท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

-          Green Community เที่ยวอย่างรู้ค่ารักษาเอกลักษณ์ชุมชน

-          Green Service จัดการธุรกิจ ตระหนักคิด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

-          Green Plus จิตอาสาพาโลกสดใสใส่ใจสิ่งแวดล้อม

 

ภาพการท่องเที่ยวในอนาคต

ภาพในอนาคต

ความดึงดูดใจและกิจกรรม (Attractions & Events) เส้นทางการท่องเที่ยว (Route / Transportation)

- มีแหล่งท่องเที่ยวเพิ่ม (ควรเพิ่มกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวได้ลงมือทำ)พี่ดวง                     

– สถานที่ วัดไร่มะม่วง (มีภาพในหลวงทรงปลูกต้นมะม่วง) เส้นทางถนนราชลีลา

- มีนักท่องเที่ยวมาขอศึกษาดูงานพร้อมฟังบรรยาย ซึ่งเดิมมีการฟัง + ดู อาจจะเพิ่ม คั่วชา (ใบหม่อน ใช้ก๊าซ) ให้เป็นกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวได้ทำพี่สุภาวดี                               

– สถานที่มีบ้านโบราณ มีวัด

- เพิ่มกิจกรรมปลูกแฝกฟาร์มทะเล            

– สถานที่ แหล่งดูนกปากทะเล นาเกลือ วัด (แบ่งนักท่องเที่ยว 2 กลุ่ม ท่องเที่ยววิชาการและนักท่องเที่ยวทั่วไป ถ้าเป็นกลุ่มเล็กอาจจะต้องดูงานเองแต่ถ้ากลุ่มใหญ่ต้องนัดหมาย)

- กิจกรรมให้อาหารปลา จำหน่าย ปลาทะเลและสาหร่ายทะเล ร้านค้าในโครงการกลุ่มแม่บ้าน สวนสมเด็จ            

– กิจกรรมคั่วชา (ตามฤดูกาล) ทำยาหม่อง ลูกประคบ ปลูกแฝก ปลูกต้นไม้ ทำอาหารตามธาตุ ปลูกป่าทางไกล (ยิงเมล็ด)

 

สิ่งอำนวยความสะดวก

แนวทางการดำเนินการ

  1. เครือข่ายเชื่อมโยง
  2. สร้างกลุ่มชาวบ้าน รายได้
  3. เส้นทางเชื่อมโยง
  4. (ถ้ามีนักท่องเที่ยวมามาก) ควรจัดระบบการจัดการ หมุนเวียน จุดรอง (ระหว่างช่วงรอ) ชมสถานที่และถ่ายรูป ชิมผลิตภัณฑ์ สร้างกิจกรรมเสริม
  5. ป้ายสื่อความหมาย เช่น ป้ายอธิบายการเล่นกับปลาแต่ละชนิด เช่น การเคาะเรียกปลา แต่ควรมีการกำจัดจำนวนอาหารปลาแต่อาจบริหารจัดการโดยตักออกไปรดน้ำต้นไม้ได้ เลี้ยงปลาแต่ต้นไม้โต
  6. บุคลากร ต้องได้รับการบูรณาการ ถ่ายทอดความรู้ ต้องทำได้ทุกอย่าง รวมถึงภาษาอังกฤษในการสื่อสารกับนักท่องเที่ยวต่างชาติ (อาจเพิ่มโบว์ชัวร์ภาษาอังกฤษ)
  7. AEC รู้สึกเฉย ๆ อาจเกิดปัญหาการแข่งขัน มีความเป็นตัวตนของชุมชน พัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพมากขึ้น มีกองทุนส่งเสริมให้นักศึกษาช่วยงานสำหรับการพัฒนาภาษาอังกฤษเข้าช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวการส่งเสริมประชาสัมพันธ์
  8. การประชาสัมพันธ์

 

9. การต่อยอด

-          มุ่งพัฒนาสินค้า

-          รูปลักษณ์

สาธารณูปโภคพื้นฐาน

10. สาธารณูปโภค

-          ดอนขุนห้วยฯ ไม่มีปัญหาเรื่องที่จอดรถ

-          สวนสมเด็จฯ มีปัญหาเรื่องที่จอดรถแต่กำลังจะก่อสร้าง

-          ไร่สุภาวดี มีปัญหา แต่อาจจะแก้ปัญหาโดยการจัดเป็นกลุ่ม วัด บ้าน โรงเรียน  เช่น จอดรถที่วัด แล้วเดินชมบ้านโบราณ แล้วเดินมาที่ไร่ สร้างการมีส่วนร่วม แต่ถ้ามาช่วงบ่ายนักท่องเที่ยวอาจบ่นได้ เราอาจจะแก้โดยการแนะนำให้มาท่องเที่ยวช่วงเช้า

11. การถ่ายทอดความรู้ต่อชุมชน ไมตรีจิตของการให้บริการ

11.30 น. เจ้าของแหล่งท่องเที่ยว นักวิจัย ผู้เข้าร่วมประชุมเห็นด้วย และแสดงความคิดเห็นในประเด็นต่าง ๆ พอสมควร

12.00 น. หัวหน้าทีมวิจัย ปิดเสวนา

ติดต่อเรา

คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี 38 หมู่ 8 ถ. หาดเจ้าสำราญ ต.นาวุ้ง อ.เมือง จ.เพชรบุรี 76000 โทรศัพท์/โทรสาร 032 493 270
Email : AgriTechPBRU@gmail.com
Website : http://agriculture.pbru.ac.th


โซเชียลเน็ตเวิร์ค

Copyright 2018. All Right Reserved. คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ขอสงวนลิขสิทธิ์ในการนำภาพและข้อมูลไปใช้ในเชิงพานิชย์